(ฝ.) คือ
- ฝี ๑ น. โรคจำพวกหนึ่ง เป็นต่อมบวมขึ้นกลัดหนองข้างใน เรียกชื่อต่าง ๆ กันหลายชนิด เช่น ฝีคัณฑมาลา ฝีดาษ ฝีประคำร้อย, ราชาศัพท์ว่า พระยอด. ๒ ใช้นำหน้าคำอื่น หมายความว่า การกระทำหรือการแสดงออกมาในบางลักษณะ
- ฝี่ ก. ซ้อนกันเป็นชั้น.
- ฝีฝักบัว น. ชื่อฝีชนิดหนึ่ง ขึ้นตามหลังและต้นคอ มีลักษณะเหมือนฝักบัว มีหัวหลายหัว.
- ฝัก น. ซอง, สิ่งหุ้มเมล็ดของพืชบางอย่างเช่นถั่ว โดยมากรูปยาว ๆ กลมบ้าง แบนบ้าง, สิ่งที่ใช้สวมหอกดาบเป็นต้น มีรูปคล้ายตัวหอกดาบที่อยู่ข้างใน มักทำด้วยหนัง ไม้ ทองเหลือง; ลูกอัณฑะ.
- ฝัง ก. จมหรือทำให้จมลงไปจากระดับพื้นจนมิดทั้งหมดหรือมิดแต่บางส่วน เช่น ฝังศพ ฝังทรัพย์ ฝังเสา, ทำให้จมติดแน่นอยู่ในสิ่งต่าง ๆ เช่น ฝังเพชร ฝังลาย, โดยปริยายหมายถึงลักษณะอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ฝังใจ
- ฝัด ก. อาการที่แยกของเบาออกจากของหนักโดยกระดกภาชนะเช่นกระด้งขึ้น ๆ ลง ๆ ค่อนข้างเร็ว เพื่อสะบัดแกลบ รำ หรือผงออกจากข้าวเป็นต้น. ว. เรียกกุ้งแห้งที่เอาเปลือกออกแล้วว่า กุ้งฝัด, กุ้งฟัด ก็ว่า.
- ฝัน น. การเห็นเป็นเรื่องราวเมื่อหลับ, โดยปริยายหมายถึงการนึกเห็นในขณะที่ตื่นอยู่ ซึ่งไม่อาจจะเป็นจริงได้. ก. เห็นเป็นเรื่องราวเมื่อหลับ, นึกเห็น, นึกเห็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.
- ฝันดี 1) v. เห็นเป็นเรื่องราวที่ดีเมื่อหลับ คำตรงข้าม: ฝันร้าย ตัวอย่างการใช้: คืนนี้เขาคงฝันดีตลอดคืนเพราะแม่ของเขาเพิ่งมาเยี่ยม 2) n. นึกเห็นสิ่งที่ดีขณะหลับ คำตรงข้าม: ฝันร้าย ต
- ฝั่ง น. ที่ดินริมน้ำเป็นขอบเขตทะเล แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น.
- ฝั้น ฟั่น ฟั่นเกลียว
- ฝิ่น น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Papaver somniferum L. ในวงศ์ Papaveraceae ยางซึ่งกรีดจากผลนำมาเคี่ยวให้เหนียวเป็นยาเสพติด ใช้ทำยาได้.
- ฝีก ก. แฝง, เร้น, ซ่อน.
- ฝึก ก. ทำ (เช่นบอก แสดง หรือปฏิบัติ เป็นต้น) เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจจนเป็นหรือมีความชำนาญ เช่น ฝึกทหาร ฝึกกายบริหาร ฝึกงาน.
- ฝืด ว. เคลื่อนไหวไม่สะดวกไม่คล่องเพราะแรงต้านทานมีการเสียดสีเป็นต้น เช่น ประตูฝืด กินข้าวฝืดคอ, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น การค้าฝืด; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียนในประเทศม
- ฝืน ก. ต้องจำใจทำสิ่งที่ไม่อยากจะทำ เช่น ฝืนกิน ฝืนทำ; ขัด, ไม่ทำตาม, เช่น ฝืนระเบียบ; ขืน, ขืนไว้, เหนี่ยวรั้ง, เช่น ฝืนใจ.