ภควัม คือ
พะคะ-
น. พระเครื่องรางชนิดหนึ่ง มีพระพักตร์คว่ำและปิดทวารทั้ง ๙ คือ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑, โดยปริยายใช้เรียกคนที่ทำหน้าคว่ำหน้างอไม่รับแขกว่า ทำหน้าเป็นภควัม หรือหน้าคว่ำเป็นภควัม; หินชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างอย่างนั้น.
- ภควดี พะคะวะดี ใช้เป็นคำเรียกสตรีที่เคารพ เช่น พระมหิษี พระอุมา พระลักษมี. (ป., ส. ภควตี).
- ภควัต พะคะ- น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).
- ภควันต์ พะคะ- น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).
- ภควา พะคะ- น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).
- ภควาน พะคะ- น. นามพระเป็นเจ้า, นามพระพุทธเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า, พระผู้มีพระภาค. (ป., ส.).
- ภคะ (แบบ) น. โชคดี, ความเจริญ, เกียรติ. (ป., ส.).
- ภคินี พะ- น. พี่หญิง, น้องหญิง. (ป., ส.).
- โภค โพก, โพคะ-, โพกคะ- น. สมบัติ เช่น ถึงพร้อมด้วยโภคะ. ก. กิน, ใช้สอย. (ป., ส.).
- โภค- โพก, โพคะ-, โพกคะ- น. สมบัติ เช่น ถึงพร้อมด้วยโภคะ. ก. กิน, ใช้สอย. (ป., ส.).
- โภคี น. ผู้บริโภค; งู, นาค; คนมั่งมี, คนมีสมบัติ; นายบ้าน. (ป., ส.).
- ความชอบของผู้บริโภค พฤติกรรมผู้บริโภค การตอบสนองของผู้บริโภค นิสัยการซื้อ
- บริโภค บอริโพก ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
- ปริโภค ปะริโพก ก. บริโภค. (ป.).
- ปาฏิโภค (แบบ) น. ผู้รับประกัน, นายประกัน. (ป.).
- ผู้บริโภค (กฎ) น. ผู้ซื้อหรือได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการเสนอหรือชักชวนจากผู้ประกอบธุรกิจเพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับบริการด้วย; ผู้เข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อ ผู้เช่า ผู้เช่าซื้