ละล้าว คือ
- ว. อย่างเกรงกลัว เช่น ไหว้ละล้าว. (นิ. นรินทร์).
- ละ ๑ ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ;
- ละล้า ( กลอน ) ก. ล่า, ช้า, หมดแรง.
- ล้า ๑ ว. หย่อนแรงหรือกำลัง เช่น เดินขึ้นเขามาก ๆ เข่าล้า ยกของมากจนแขนล้า สมองล้า, ย่อหย่อน เช่น จิตใจล้า. ๒ ว.
- ละล่ำละลัก ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะเหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
- ละล่ําละลัก กระอึกกระอัก ติดๆ ขัดๆ
- ละล้าละลัง ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, พะวงหน้าพะวงหลัง, พะวักพะวน, เช่น เกิดไฟไหม้ละล้าละลังคว้าอะไรไม่ถูก.
- ตะละ (กลอน) ว. ดุจ, เหมือน, เช่น ลำต้นตะละคันฉัตร; แต่ละ เช่น ตะละคน.
- ละลด ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เถียงอย่างไม่ละลด, ลดละ ก็ว่า.
- ละลวย ก. งงงวย, ทำให้หลง, เช่น คาถามหาละลวย. ว. มีมาก, ได้มาก; อ่อน, นุ่ม.
- ละลอก น. ระลอก; โรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เป็นเม็ดมีหนอง.
- ละลัง ว. รีบเร่ง.
- ละลัด น. แมลงวัน. (ช.).
- ละลาน ก. ตื่นเต้น.
- ละลาย ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น น้ำแข็งละลาย; คลายตัวหรือทำให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในน้ำหรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในน้ำ ละลายยาหอม ละลายน้ำตาลในน้ำกะทิ, โดยปริยายหมา
- ละลิบ ว. ลิบ, ลิ่ว, สูง, โด่ง, ไกล, ลอยไปไกล.