อนิวรรตน์ คือ
อะนิวัด
ว. ไม่กลับ, ไม่ท้อถอย. (ส. อนิวรฺต, อนิวรฺตน; ป. อนิวตฺต, อนิวตฺตน).
- อน อะนะ- เป็นคำปฏิเสธ แปลว่า ไม่, ไม่ใช่, ใช้ประกอบหน้าศัพท์บาลีและสันสกฤตที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อาทร = เอื้อเฟื้อ, อนาทร = ไม่เอื้อเฟื้อ. ( ดู อ ๒
- อนิวรรต อะนิวัด ว. ไม่กลับ, ไม่ท้อถอย. ( ส. อนิวรฺต, อนิวรฺตน; ป. อนิวตฺต, อนิวตฺตน).
- นิ ( โบ ) ใช้เสริมคำให้พยางค์สละสลวยขึ้น เช่น สนุกนิ สำนักนิ.
- วร วะระ-, วอระ- น. พร; ของขวัญ. ว. ยอดเยี่ยม, ประเสริฐ, เลิศ. ( ป. , ส. ).
- ตน น. ตัว (ตัวคน) เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตน; ลักษณนามใช้เรียกเทวดา ยักษ์ หรือพวกกายสิทธิ์ เป็นต้น เช่น ยักษ์ตนหนึ่ง เทวดา ๒ ตน.
- ประวรรตน์ ปฺระวัด น. ความเป็นไป. (ส. ปฺรวรฺตน; ป. ปวตฺตน).
- บริวรรต บอริวัด ก. ปริวรรต. (ส. ปริวรฺต).
- ปริวรรต ปะริวัด, ปะริวัดตะ- ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา; เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
- ปริวรรต- ปะริวัด, ปะริวัดตะ- ก. หมุนเวียน เช่น ปริวรรตเงินตรา; เปลี่ยนแปลง, เปลี่ยนไป, แปรไป. (ส. ปริวรฺต; ป. ปริวตฺต).
- ทักษิณาวรรต น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
- ประวรรต ปฺระวัด ก. เป็นไป. (ส. ปฺรวรฺต; ป. ปวตฺต).
- ภรตวรรษ พะรดตะวัด น. แผ่นดินแห่งท้าวภรต คือ อินเดีย. (ส. ภรตวรฺษ).
- อุตราวรรต อุดตะรา- น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือเวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
- ปริวรรตกรรม ปะริวัดตะกำ (แบบ) น. การหมุนเวียน.
- ผู้ปริวรรตอักษร ผู้ถ่ายถอดอักษร