(อ.) คือ
- 1) เป็นคำอุทาน; 2) มาจากภาษาอังกฤษ
- อ. เป็นคำอุทาน
- อิ เขา เธอ มัน ชิ หล่อน
- อี ๑ น. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศหญิงหรือสัตว์ตัวเมีย เช่น อีสาว อีเหมียว, คำประกอบหน้าชื่อผู้หญิงที่มีฐานะต่ำกว่า, คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้หญิงแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ
- อี่ (โบ) น. เรียกลูกสาวคนที่ ๒ ว่า ลูกอี่, เรียกลูกสาวคนที่ ๑ ว่า ลูกเอื้อย, คู่กับ คำที่เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย, เรียกลูกชายคนที่ ๒ ว่า ลูกยี่.
- อี๊ อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงอาการรังเกียจสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นต้น เช่น อี๊ ! เสื้อสกปรกอย่างนี้ ยังจะเอามาให้อีก, ยี้ ก็ว่า.
- อี๋ ๑ น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าปั้นเป็นลูกกลม ๆ ต้มน้ำตาล. ๒ ว. คำใช้ขยายกริยา คราง ในคำว่า ครางอี๋. ๓ ก. กิริยาที่แสดงอาการเอาอกเอาใจหรือประจบประแจงเป็นต้น.
- อึ (ปาก) ก. ถ่ายอุจจาระ (มักใช้แก่เด็ก). น. ขี้, อุจจาระ.
- อึ๊ ถ่ายอุจจาระ ไปอึ
- อุ น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ปลายข้าวและแกลบประสมกับแป้งเชื้อแล้วหมักไว้.
- อู น. ชื่อไก่ชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่กว่าไก่แจ้ หงอนเล็ก ตัวผู้มีหลายสีแต่สีขนไม่สดใสเหมือนไก่แจ้ ตัวเมียมีสีดำเหลือบเขียวเท่านั้น, เรียกไก่อูชนิดที่เลี้ยงไว้ชนกันว่า ไก่ชน.
- อู่ น. เปลเด็ก, (ราชา) พระอู่; ที่เดิม ในคำว่า มดลูกเข้าอู่; แหล่งที่เกิด เช่น อู่ข้าว อู่น้ำ; ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ; ที่ที่ไขน้ำเข้าออกได้ สำหรับเก็บเรือหรือซุง.
- อู้ ๑ ว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม
- อือ อ. คำที่เปล่งออกมาเป็นการตอบรับหรือรับรู้.
- อื้อ ว. อาการที่รู้สึกมีเสียงดังอยู่ในหู, ไม่ได้ยิน; (ปาก) มาก เช่น รวยอื้อ บ่นกันอื้อ.
- อู้อี้ ว. มีเสียงไม่ชัดเจนอย่างเสียงคนจมูกบี้หรือคนบ่น.