ครุคระ คือ
คฺรุคฺระ
ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
- ครุ ๑ คฺรุ น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ. ๒ คะรุ ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง
- รุ ก. ระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป เช่น บริษัทรุคนงานเก่าออก พี่รุเสื้อผ้าให้น้อง.
- คระ ๑ คฺระ คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น
- ระ ก. กระทบเรียดไป เช่น เอาไม้ระรั้วสังกะสี.
- ครี้ ดู กระซิก ๒.
- ครึ คฺรึ (ปาก) ว. เก่าไม่ทันสมัย.
- ครู ๑ คฺรู น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ). ๒ คะรู (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางวัน. (ดู ยาม).
- ครู่ ๑ คฺรู่ น. เวลาชั่วขณะหนึ่ง เช่น เวลาชั่วครู่. ๒ คฺรู่ ก. ลาก ถู หรือรู่ไปบนของแข็ง.
- คระวี คฺระ- (โบ) ก. แกว่ง, กระวี ก็ว่า.
- คระหน คฺระ- ก. กระหน, ดิ้นรน, เดือดร้อน, กระวนกระวาย.
- คระหิว คฺระ- ก. อยาก, หิว.
- คระไล คฺระ- ก. ไป. (แผลงมาจาก ไคล).
- ชาคระ ชาคะระ (แบบ) น. ความเพียร, ความตื่นอยู่. (ป., ส.).
- พระครู น. ฐานันดรประเภทหนึ่งแห่งพระภิกษุ ต่ำกว่าพระราชาคณะ เช่น พระครูสรวุฒิพิศาล พระครูสรภาณพิสุทธิ; บรรดาศักดิ์พราหมณ์ เช่น พระครูวามเทพมุนี.
- ภวัคระ พะวักคฺระ น. พรหมชั้นสูง, เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็เรียก. (ส. ภวาคฺร; ป. ภวคฺค).