บาท- คือ
บาด, บาดทะ-
น. ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. (ป., ส. ปาท).
- บา น. ครู, อาจารย์; ชายหนุ่ม.
- บาท ๑ บาด, บาดทะ- น. ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. ( ป. , ส. ปาท). ๒ น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๑๐๐ สตางค์ หรือ ๔ สลึง เท่ากับ ๑ บาท,
- บาที บางครั้ง บางคราว บางหน ลางหน
- จรบาท จอระ- (กลอน) ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคำว่า บทจร.
- ทวิบาท น. สัตว์สองเท้า. (ส.).
- บทบาท บดบาด น. การทำท่าตามบท, การรำตามบท, โดยปริยายหมายความว่า การทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
- บัวบาท น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
- บาทบ บา-ทบ (แบบ) น. ต้นไม้ เช่น บรรดาที่เป็นบาทบชักตรลบเอารสวารี. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป., ส. ปาทป).
- บาทบูรณ์ บาดทะบูน น. คำที่ทำบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคำที่ได้ใจความ ๑๐ คำ แล้วอีกคำหนึ่งไม่ต้องมีความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คำเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
- บาทภัฏ บาดทะพัด น. ทหารเดินเท้า, ทหารราบ. (ส. ปาทภฏ).
- บาทมูล บาดทะมูน น. ที่ใกล้เท้า, แทบฝ่าเท้า. (ป.).
- บาทยุคล บาดทะยุคน, บาดยุคน น. เท้าทั้งคู่. (ป. ปาทยุคล).
- บาทรช บาดทะรด, บาดทะรัด น. ละอองเท้า. (ส. ปาทรช).
- บาทรัช บาดทะรด, บาดทะรัด น. ละอองเท้า. (ส. ปาทรช).
- บาทวิถี น. ทางเท้า.