หรณะ คือ
หะระนะ
น. การนำไป. (ป., ส.).
- รณ รน, รนนะ- น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. ( ป. , ส. ).
- หริณะ หะรินะ น. กวาง, เนื้อชนิดหนึ่ง, กระต่าย. ว. สีขมิ้น, สีเหลืองอมแดง, สีเขียว. (ป., ส.).
- จรณะ จะระ- น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
- ชิรณะ ชิระนะ- ว. แก่, คร่ำคร่า, ชำรุด. (ป. ชีรณ; ส. ชีรฺณ).
- ชีรณะ ชีระนะ- ว. เก่า, แก่, ชำรุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
- ธรณะ ทอน, ทอระนะ (แบบ) น. การถือไว้, การทรงไว้, การยึดไว้. (ป., ส.).
- ธารณะ ๑ ทาระนะ (แบบ) น. การทรงไว้. (ป., ส.). ๒ ทาระนะ ว. ทั่วไป, ไม่เลือกหน้า. น. การตักบาตรที่ไม่เฉพาะเจาะจง เรียกว่า ธารณะ. (ตัดมาจากคำ สาธารณะ).
- บุรณะ บุระ- ก. บูรณะ, ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บุรณะวัด. (ส. ปูรณ).
- บูรณะ ก. ซ่อมแซมทำให้กลับคืนดีเหมือนเดิม เช่น บูรณะวัด.
- ปุรณะ ปุระนะ ก. บูรณะ. (ส. ปูรณ).
- พารณะ พารน, พาระนะ น. ช้าง. (ป., ส. วารณ).
- มรณะ มอระนะ-, มะระนะ-, มอน, มอระนะ น. ความตาย, การตาย. (ป., ส.). ก. ตาย.
- วรณะ วะระนะ น. ป้อม, กำแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.).
- วรรณะ วันนะ- น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคน
- วิจรณะ -จะระ- ก. เที่ยวไป. (ป.).