ประแดะ คือ
- pic056.jpg (ประแดะ) น. เครื่องมือของช่างทอง สำหรับเคาะสิ่วสลัก มีรูปคล้ายค้อน แต่แบน ทำด้วยเขาสัตว์; เรียกมีดพกปลายแหลมชนิดหนึ่งที่มีด้ามงอเฉียงลงว่า มีดประแดะ, คอม้า ก็เรียก.
- ปร ปะระ-, ปอระ- ว. อื่น, ใช้เป็นบทหน้าสมาส เช่น ปรปักษ์ ปรโลก. ( ป. ).
- ประ ปฺระ ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร
- ระ ก. กระทบเรียดไป เช่น เอาไม้ระรั้วสังกะสี.
- ระแด น. คนชาติข่าพวกหนึ่ง ในตระกูลชวามลายู อยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง.
- แด ( กลอน ) น. ใจ.
- แดะ ก. แอ่นตัวหรือดีดตัวขึ้น. น. เรียกท่าหนึ่งของวิชาพลศึกษาที่แอ่นตัวขึ้นก่อนที่จะทิ้งตัวลงในการแข่งขันกระโดดไกล กระโดดสูง ราวเดี่ยว เป็นต้น.
- ดะ ๑ ว. ตะลุยไป, ไม่เลือกหน้า, ไม่งดเว้น, เช่น เก็บดะ ตีดะ เตะดะ ฟันดะ. ๒ ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน
- กระแดะ (ปาก) ก. ดัดจริต, ทำในสิ่งที่ไม่น่าทำ.
- แดะแด๋ (ปาก) ว. ดัดจริตดีดดิ้น, กระแดะกระแด๋ ก็ว่า.
- กระแดะกระแด๋ (ปาก) ก. ดัดจริตดีดดิ้น, แดะแด๋ ก็ว่า.
- ประแดง (โบ) น. คนเดินหมาย, คนนำข่าวสาร, ผู้สื่อข่าว, นักการ; พนักงานตามคน, ตำแหน่งข้าราชการในสำนักพระราชวัง, บาแดง ก็ใช้.
- กระแด่วๆ adv. อาการที่ดิ้นอยู่กับที่ ตัวอย่างการใช้: ปลาดิ้นกระแด่วๆ เมื่อถูกทุบหัว
- กระแด้ง (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง แม่กระแด้ง. ว. คดไปมา. (ปาเลกัว).
- กระแด้แร่ ว. กระแดะ, ดัดจริต, เช่น อย่าทำดื้อกระแด้แร่เลยแม่เอ๋ย. (มณีพิชัย).
- ระดะ ว. เกลื่อนกล่น.