พรรษายุต คือ
- พร พอน น. คำแสดงความปรารถนาให้ประสบสิ่งที่เป็นสิริมงคล เช่น ให้พร ถวายพระพร, สิ่งที่ขอเลือกเอาตามประสงค์ เช่น ขอพร. ( ป. วร).
- พรรษ พัด, พันสะ- น. ฝน; ปี. ( ส. วรฺษ; ป. วสฺส).
- พรรษา พันสา น. ช่วงระยะเวลา ๓ เดือนในฤดูฝน เช่น เข้าพรรษา จำพรรษา; ปี เช่น บวช ๓ พรรษา, ( ราชา ) มีพระชนมายุ ๒๕ พรรษา. ( ส. วรฺษ; ป. วสฺส, วสฺสาน).
- ยุ ก. กล่าวชักชวน ส่งเสริม หนุน หรือเป็นใจให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (มักใช้ในทางที่ไม่สมควร) เช่น ยุให้เขาทะเลาะกัน ยุให้โกรธ ยุให้กำเริบ.
- ยุต ๑ ยุด ก. ประกอบ. ( ป. ยุตฺต; ส. ยุกฺต). ๒ ยุด น. เศษด้ายเศษผ้าใช้เช็ดน้ำมันเครื่องเป็นต้นใช้แล้วทิ้งไป.
- จำพรรษา ก. อยู่ประจำที่วัด ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
- ชนมพรรษา ชนมะพันสา น. อายุ. (ส. ชนฺมวรฺษ ว่า ขวบปีที่เกิดมา).
- บุริมพรรษา บุริมมะพันสา, บุริมพันสา น. “พรรษาต้น”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาต้น คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑, ปุริมพรรษา ก็ว่า, คู่กับ ปัจฉิมพรรษา. (ป. ปุริม + ส. วรฺษ).
- ปัจฉิมพรรษา ปัดฉิมมะพันสา, ปัดฉิมพันสา น. “พรรษาหลัง”, ช่วงระยะเวลาที่ภิกษุเข้าอยู่จำพรรษาหลัง คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒, คู่กับ บุริมพรรษา หรือ ปุริมพรรษา. (ป. ปจฺฉิม + ส. วรฺษ).
- ปุริมพรรษา ปุริมมะพันสา, ปุริมพันสา ดู บุริมพรรษา.
- พรรษากาล น. ฤดูฝน. (ส.).
- พรรษาคม น. การเริ่มฤดูฝน. (ส.).
- ลาพรรษา (ปาก) ก. ออกพรรษา.
- หูเข้าพรรษา ว. ไม่รับรู้รับฟังสิ่งใด ๆ ทั้งสิ้นมักใช้เป็นสำนวนเปรียบเทียบ เช่น ทำเป็นหูเข้าพรรษาไปได้.
- ออกพรรษา น. เรียกวันที่สิ้นสุดการจำพรรษาแห่งพระสงฆ์ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ว่า วันออกพรรษา, วันปวารณา หรือ วันมหาปวารณา ก็เรียก.