สมฤๅดี คือ
สมรึดี, สมรือดี
น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี หรือ สมประดี ก็มี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
- สม ๑ ว. เหมาะ, เหมาะกับ, ควรแก่, เช่น บ่าวสาวคู่นี้สมกัน เขาแต่งตัวสมฐานะ แสดงละครได้สมบทบาท เขาต่อสู้กันอย่างสมศักดิ์ศรี เด็กคนนี้แต่งตัวไม่สมวัย,
- ฤๅ ๑ รือ เป็นรูปสระในภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นเสียงยาวของ ฤ เมื่อไทยนำมาใช้ออกเสียงเป็น รือ เช่น ฤๅษี. ๒ รือ ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่;
- ฤๅดี น. ฤดี, ความยินดี, ใจ.
- ดี ๑ น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ที่บรรจุน้ำข้นสีเขียว มีรสขม ซึ่งออกจากตับ สำหรับช่วยย่อยอาหาร, เรียกน้ำข้นสีเขียว มีรสขม ออกจากตับ
- สมปฤๅดี สมปฺระ-, สมปะรึ-, สมปะรือ- น. ความรู้สึกตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสมประดี เช่น ไม่ได้สติสมประดี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
- ฤๅษีผสม น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Plectranthus scutellarioides (L.) R. Br. ในวงศ์ Labiatae ใบมีสีต่าง ๆ ขอบใบจักเป็นรูปฟันปลา, ฤๅษีผสมแล้ว หรือ ฤๅษีผสมเสร็จ ก็เรียก.
- สมฤดี สมรึดี, สมรือดี น. ความรู้สึกตัว, ใช้เป็น สมปฤดี สมปฤๅดี หรือ สมประดี ก็มี. (ส. สฺมฺฤติ; ป. สติ).
- สมฤติ สะมะรึติ น. ชื่อคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังคัมภีร์พวกศรุติ เช่น คัมภีร์เวทางคศาสตร์ ศูตระ รามายณะ มหาภารตะ ปุราณะ ธรรมศาสตร์. (ส.).
- ตฤๅ ตฺรี น. ปลา, โดยมากใช้ ตรี. (ข. ตฺรี).
- ฤๅชุ ว. ตรง, ซื่อ. (ส. ฤชุ).
- ฤๅษี น. ฤษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ.
- ดังฤๅ ว. เช่นไร, เหตุไร, ไฉน.
- ธูปฤๅษี ดู กกช้าง.
- ฤๅชุตา น. ความตรง, ความซื่อสัตย์.
- ฤๅทัย น. ฤทัย, ใจ, ความรู้สึก.