แผละ คือ
สัทอักษรสากล: [phlae] การออกเสียง:
"แผละ" การใช้"แผละ" อังกฤษ"แผละ" จีน
ความหมายมือถือ
- ๑
แผฺละ
ว. เสียงดังเช่นนั้น; แสดงอาการอ่อนกำลัง เช่น ล้มแผละ.
๒
น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง, แพละ ก็ว่า.
- แผล แผฺล น. เนื้อหนังที่แตกแยกออกเพราะเป็นโรคหรือถูกของมีคมเป็นต้น เช่น ขาเป็นแผล; รอยชำรุด เช่น ทุเรียนเป็นแผล เนื้อผลไม้เป็นแผล.
- ผล น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนาได้ผล เรียนได้ผล;
- ผละ ผฺละ ก. แยกออก เช่น นักมวยชกแล้วผละออก, ละทิ้งไปโดยกะทันหัน เช่น ผละไปจากการประชุม.
- ละ ๑ ก. อาการที่แยกตัวให้พ้นจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องอยู่ เช่น ละถิ่น ละบ้าน ละสมณเพศ; ทิ้งไว้, ปล่อยไว้, เช่น ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ละพยศ;
- ตบแผละ -แผฺละ น. การเล่นชนิดหนึ่ง มีคนเล่น ๒ คน หันหน้าเข้าหากัน แต่ละฝ่ายตบเข่าและตบมือของตัวเองก่อน จึงใช้มือซ้ายตบมือซ้ายและมือขวาตบมือขวาของอีกฝ่ายหนึ่งสลับกันกับตบมือและตบเข่า.
- บานแผละ -แผฺละ น. ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารเป็นต้นเมื่อเปิดเข้าไปแล้วแปะอยู่.
- เผลาะแผละ -แผฺละ น. ลูกโป่งแก้วที่เด็กเป่าเล่น.
- ทาแผล ทายา ทายาทาแผล ใช้ยาทาแผล
- ทำแผล v. ทำความสะอาดบาดแผลและใส่ยาเพื่อป้องกันแผลอักเสบ อาจมีกันปิดปากแผลด้วยผ้าพันแผลอีกชั้นหนึ่ง ตัวอย่างการใช้: แผลที่ถูกไฟลวกต้องการการรักษาเป็นพิเศษ ต้องทำแผลวันละหลายครั้ง
- ปิดแผล พอกแป้ง
- พันแผล ผูก พัน มัด พันผ้าก็อต พันผ้าพันแผล
- เป็นแผล บาดเจ็บ
- เย็บแผล ก. ทำให้แผลติดกันโดยใช้เอ็นหรือไหมเย็บ หรือใช้ปลิงเกาะ.
- เลียแผล (ปาก) ก. พักฟื้น เช่น ไปนอนเลียแผลเสียหลายวัน.
- แผลง แผฺลง ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลงพยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คำแผลง.