ขยล คือ
สัทอักษรสากล: [kha yon] การออกเสียง:
"ขยล" การใช้"ขยล" อังกฤษ
ความหมาย
มือถือ
ขะหฺยน
น. ลม. (ข. ขฺยล่).
- ขย ขะยะ- ( แบบ ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. ( ป.
- ยล ยน ก. มองดู.
- ขย- ขะยะ- (แบบ) น. ความสิ้นไป, ความเสื่อมไป, โดยมากใช้ในสมาส เช่น ขยธรรม อาสวักขยญาณ, ถ้าใช้โดด ๆ หรือเป็นคำท้ายสมาส เป็น ขัย เช่น อายุขัย. (ป.).
- ขยี้ ขะยี่ ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซ้ำ ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา
- ขยักขย่อน -ขะหฺย่อน ก. ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว.
- ขยักขย้อน -ขะย่อน ก. มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน.
- ขยี่ขยัน ขะหฺยี่ขะหฺยัน ก. ขยันขันแข็ง เช่น เห็นก็จะขยี่ขยันเขยื้อน. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
- ขยุกขยิก ขะหฺยุกขะหฺยิก ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดงถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
- ขยุกขยุย ขะหฺยุกขะหฺยุย ว. ยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบ.
- ขยุบขยิบ ขะหฺยุบ, -ขะหฺยิบ ว. กระดุบ ๆ, เต้นดุบ ๆ อย่างเนื้อเต้น.
- ขยด ขะหฺยด ก. ถด, ถอย, กระเถิบ, เลื่อนจากที่เดิม, เช่น ทวารวังในว่าใกล้ ฤๅแลวันนี้ไสร้ ขยดออกรื้อดูไกล บารนี ฯ. (ลอ), ใช้ว่า กระหยด ก็มี เช่น กระหยดเข้า นางเจ้าแม่ทรงศาสตราชัย. (มโนห์รา).
- ขยม ขะหฺยม น. ขยุม, ข้า, บ่าว. (โบ) ส. ขยุม, ฉัน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ข. ขฺญุ ํ).
- ขยะ ขะหฺยะ น. หยากเยื่อ, มูลฝอย, ใช้ว่า กระหยะ ก็มี.
- ขยัก ขะหฺยัก ก. กักหรือเก็บไว้บ้างไม่ปล่อยไปจนหมดหรือไม่ทำให้หมด. น. ตอน, พัก, เช่น ทำ ๒ ขยัก ๓ ขยัก.
- ขยัน ๑ ขะหฺยัน ก. ทำการงานอย่างแข็งขันไม่ปล่อยปละละเลย, ทำหรือประพฤติเป็นปรกติสม่ำเสมอ, ไม่เกียจคร้าน; แข็งแรง, เข้าที, เช่น เนื้อหนังขยันมั่นคงนัก. (อิเหนา), พอก้ำกึ่งกลางนั้นขยันนัก. (เพลงยาวถวายโอวาท)