เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก

สังโยค คือ

การออกเสียง:
ความหมายมือถือ
  • น. การประกอบกัน, การอยู่ร่วมกัน, การผูกรัด; (ไว) ตัวพยัญชนะ ๒ ตัวที่เรียงกัน ตัวหน้าเป็นตัวสะกด ตัวหลังเป็นตัวตาม พยัญชนะที่เป็นตัวสะกด เรียกว่า พยัญชนะสังโยค เช่น มนุสฺส สตฺต พุทฺธ รฏฺ. (ป. สํโยค, สญฺโค; ส. สํโยค).
  • สัง     ( ถิ่น-อีสาน ) น. ต้นมะสัง. ( ดู มะสัง ).
  • โย     ๑ ( ปาก ) ก. พูดแขวะ, พูดชวนวิวาท. ๒ ( โบ ) ว. เรียกทุเรียนที่มีเม็ดห่าง ๆ ว่า ทุเรียนโย. ( ปรัดเล ).
  • โยค     โยคะ- น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; ( โหร ) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒
  • (สังโยคพิธาน)    มาจาก สังโยคพิธานแปล ของ กรมศึกษาธิการ ฉบับโรงพิมพ์อักษรนิติ ร.ศ. ๑๒๐
  • สัญโยค    น. สังโยค. (ป.).
  • สัมปโยค    สำปะโยก น. การประกอบกัน. (ป.; ส. สมฺปฺรโยค).
  • สังโยชน์    น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. (ป. สํโยชน, สญฺโชน; ส. สํโยชน).
  • โยค-    โยคะ- น. การประกอบ, การใช้, การร่วม; กิเลส; ความเพียร; วิธีบำเพ็ญสมาธิตามลัทธิของอาจารย์ปตัญชลี; (โหร) การที่ดาวนพเคราะห์ตั้งแต่ ๒ ดวงขึ้นไปมารวมกันในราศีเดียว. (ป., ส.).
  • โยคี    น. นักบวชผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ, ฤษีพวกหนึ่ง. (ป.; ส. โยคินฺ ว่า ผู้ปฏิบัติตามลัทธิโยคะ).
  • โยงโย่    ก. ยงโย่.
  • สังกรประโยค    สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก.
  • ชปโยค    ชะปะโยก (แบบ) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ส. ชปฺ + โยค).
  • พิโยค    ก. พลัดพราก, จากไป. (ป., ส. วิโยค).
  • วิปโยค    วิบปะโยก, วิปฺระโยก น. ความพลัดพราก, ความกระจัดกระจาย, ความจากกัน. ว. เศร้าโศก เช่น วันวิปโยค แม่น้ำวิปโยค. (ป. วิปฺปโยค; ส. วิปฺรโยค).
  • วิโยค    น. การจากไป, การพลัดพราก, ความร้าง, ความห่างเหิน. (ป., ส.).