เลาะลัด คือ
- ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้าเลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวางหรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
- เลา ๑ น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum spontaneum L. ในวงศ์ Gramineae ดอกสีขาวเงิน เป็นมัน, พง หรือ อ้อยเลา ก็เรียก;
- เลาะ ก. ชิดแนว เช่น พายเรือเลาะตลิ่ง เดินเลาะรั้ว; ลิด เช่น เลาะตาไม้; ทำให้ด้ายเป็นต้นที่เย็บหลุด เช่น เลาะตะเข็บ เลาะผ้า.
- ลา ๑ น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Equus asinus ในวงศ์ Equidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับม้า รูปร่างคล้ายม้าแต่ตัวเล็กกว่า หูยาว ปลายหางเป็นพู่
- ลัด ๑ ก. ตัดตรงไปเพื่อย่นทางย่นเวลา เช่น เดินลัดตัดทุ่ง, โดยปริยายหมายถึงการกระทำซึ่งลุล่วงได้โดยตรงและเร็วกว่าการกระทำตามปรกติ เช่น เรียนลัด. ๒
- ละเลาะละลอง ก. บรรลุถึงฝั่ง; ค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมาย.
- เซาะลาย ก. ทำให้เป็นลวดลายหรือรอยลึก.
- เอาะลาย ดู กระดาดดำ, กระดาดขาว.
- ผู้เลาะ ผู้ขลิบ ผู้เล็ม
- กำเลาะ (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
- จันเลาะ น. ลำห้วย. (ข. เชฺราะ ว่า เหว, ลำธาร).
- จำเลาะ ก. ทะเลาะ. (ข. เฌฺลาะ).
- ฉอเลาะ ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทำนองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง).
- ชมเลาะ (โบ) ก. ทะเลาะ เช่น ความชมเลาะกันก็จแรก. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ข. เฌฺลาะ ว่า ทะเลาะ).
- ทะเลาะ ก. ทุ่มเถียงกันด้วยความโกรธ, โต้เถียงกัน, เป็นปากเป็นเสียงกัน.
- ละเลาะ ก. ค่อย ๆ ไป.