ขะข่ำ คือ
- (โบ; กลอน) ว. คล้ำ, มืดมัว, เขียนเป็น ขข่ำ ก็มี เช่น ฟ้าแมลบมล่นนร้อง ท้องฟ้าเขียวขข่ำ ยงงฝนพพร่ำพรอยพรำ อื้ออึงอัมพรระงม ด้วยกำลงงลมพายุพัดน้นน. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์).
- เขะขะ ว. เกะกะ, กีดขวาง.
- อีเหละเขะขะ -เหฺละเขฺละขฺละ, -เหฺละ- ว. เกะกะ, เกลื่อนกลาด.
- มีลักษณะของน้ำ ประกอบด้วยน้ำมาก มีน้ำตาคลอ หลั่งน้ำ
- นขะ นะขะ- (แบบ) น. เล็บ, เล็บมือ, เล็บเท้า. (ป., ส.).
- มยูขะ น. รัศมี. (ป., ส.).
- ลูขะ (แบบ) ว. ปอน, เศร้าหมอง, เปื้อน. (ป.).
- สขะ (แบบ) น. เพื่อน, สหาย. (ป., ส.).
- ขะมุกขะมอม ว. เปรอะเปื้อนมอซอ.
- ขะนาน น. ทะนาน.
- ขะน่อง (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
- ขะยิก ก. ขยับเข้าไปทีละน้อย ๆ, กระยิก ก็ว่า.
- ขะยุก ก. ดันเข้าไปทีละน้อย ๆ; ยุหรือหนุนส่ง.
- ขะเน็ด น. เขน็ด.
- ขะแข่น (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คำหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คำหลวง กุมาร).
- ขะแข้น (โบ; กลอน) ว. แข้น, แข็ง, เขียนเป็น ขแข่น ก็มี เช่น สองอ่อน โอ้อาดูร ร้อนแสงสูรย์ขแข่น. (ม. คำหลวง กุมาร), ร้อนขะแข้น. (ม. คำหลวง กุมาร).